วันอาทิตย์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

ครั้งที่ 18 วันศุกร์ ที่ 5 พฤษภาคม 2560 เวลาเรียน 08.30-12.30 น

สอบปลายภาคค่ะ

ครั้งที่17 วันศุกร์ ที่ 28 เมษายน 2560 เวลาเรียน 08.30-12.30 น.

เนื้อหา
บทบาทครู
•ตำแหน่งการนั่งของเด็กไม่ควรให้นั่งติดหน้าต่างหรือประตู
•ให้เด็กนั่งแถวหน้าสุดใกล้โต๊ะครู
•จัดให้เด็กนั่งติดกับนักเรียนที่ไม่ค่อยเล่น ไม่ค่อยคุยในระหว่างเรียน
การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
1.ทักษะทางสังคม
-เด็กพิเศษที่ขาดทักษะทางสังคม ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการพ่อแม่
-การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันว่าเด็กจะมีพัฒนาการต่างๆอย่างมีความสุข
กิจกรรมการเล่น
เด็กจะสนใจกันเองโดยอาศัยการเล่นเป็นสื่อ
ยุทธศาสตร์การสอน
ครูเริ่มต้นจากการสังเกตเด็กแต่ละคนอย่างเป็นระบบ
ครูจดบันทึก
ทำแผน IEP
การกระตุ้นการเลียนแบบและการเอาอย่าง
วางแผนกิจกรรมการเล่นไว้หลายๆอย่าง

คำนึงถึงเด็กทุกๆคน
ครูปฏิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น
อยู่ใกล้ๆ และเฝ้ามองอย่างสนใจ
ยิ้มและพยักหน้าให้ ถ้าเด็กหันมาหาครู
การให้แรงเสริมทางสังคมในบริบทที่เด็กเล่น
ครูพูดชักชวนให้เด็กร่วมเล่นกับเพื่อน

ทำโดย “การพูดนำของครู”
ช่วยเด็กทุกคนให้รู้กฎเกณฑ์
ไม่ง่ายสำหรับเด็กพิเศษ

การให้โอกาสเด็ก

2.ทักษะภาษา
การวัดความสามารถทางภาษา
เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูดไหม

ตอบสนองเมื่อมีคนพูดด้วยไหม
การออกเสียงผิด / พูดไม่ชัด
การพูดตกหล่น
การใช้เสียงหนึ่งแทนอีกเสียง

ติดอ่าง
การปฏิบัติของครูและผู้ใหญ่
ไม่สนใจการพูดซ้ำหรือการออกเสียงไม่ชัด
ห้ามบอกเด็กว่า  “พูดช้าๆ”   “ตามสบาย”   “คิดก่อนพูด”

อย่าขัดจังหวะขณะเด็กพูด
ทักษะพื้นฐานทางภาษา
ทักษะการรับรู้ภาษา
การแสดงออกทางภาษา

การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด
ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย
การรับรู้ภาษามาก่อนการแสดงออกทางภาษา
ภาษาที่ไม่ใช่คำพูดมาก่อนภาษาพูด

ให้เวลาเด็กได้พูด
การสอนตามเหตุการณ์ (Incidental Teaching)
ให้เด็กทำกิจกรรมกลุ่ม เด็กพิเศษได้มีแบบอย่างจากเพื่อน
กระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการของตนเอง (ครูไม่คาดการณ์ล่วงหน้า)

เน้นวิธีการสื่อความหมายมากกว่าการพูด
3. ทักษะการช่วยเหลือตนเอง
เรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระให้มากที่สุด การกินอยู่ การเข้าห้องน้ำ การแต่งตัว กิจวัตรต่างๆในชีวิตประจำวัน
การสร้างความอิสระ
ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ
หัดให้เด็กทำเอง
จะช่วยเมื่อไหร่
ทักษะการช่วยเหลือตนเอง 
ลำดับขั้นในการช่วยเหลือตนเอง
การเข้าส้วม
 4. ทักษะพื้นฐานทางการเรียน
เป้าหมาย
ช่วงความสนใจ
การเลียนแบบ
การทำตามคำสั่ง คำแนะนำ
การรับรู้ การเคลื่อนไหว
การควบคุมกล้ามเนื้อเล็ก
ความจำ
การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ
แล้วหลังจากนั้นอาจารย์ก็ให้ตัวแทนออกมาทำกิจกรรมค่ะ

ประยุกต์
การสอนเพื่อให้เด็กได้พัฒนาตนเอง

ประเมินอาจารย์
อาจารย์ตั้งใจสอนอย่างมากและยกตัวอย่างทำให้เห็นภาพมากยิ่งขึ้นค่ะ

ประเมินตนเอง
ตั้งใจเรียนดีค่ะและตั้งใจดูเพื่อนทำกิจกรรมค่ะ

ประเมินเพื่อน
เพื่อนตั้งใจเรียนทุกคนค่ะ

ครั้งที่ 16 วันศุกร์ ที่ 21 เมษายน 2560 เวลาเรียน 08.30-12.30 น.

ไม่มีการเรียนการสอนค่ะ

ครั้งที่ 15 วันศุกร์ ที่ 14 เมษายน 2560 เวลาเรียน 08.30-12.30 น.

หยุดสงกรานต์ค่ะ

ครั้งที่ 14 วันศุกร์ ที่ 7 เมษายน 2560 เวลาเรียน 08.30-12.30 น.

ไม่มีการเรียนการสอนค่ะ

ครั้งที่13 วันที่ศุกร์ที่31 มีนาคม พ.ศ.2560 เวลาเรียน 08:30-12:30 น.

ไม่มีการเรียนการสอน

ครั้งที่12 วันที่ศุกร์ที่24 มีนาคม พ.ศ.2560 เวลาเรียน 08:30-12:30 น.

เนื้อหา
อาจารย์แจกคะแนนสอบแล้วสอนเรื่อง
*การส่งเสริมพัฒนาการและการปรับพฤติกรรมเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ*

-เพื่อให้เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองได้ในชีวิตประจำวัน 
-ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้ใกล้เคียงกับคนปกติมากที่สุด  
-เน้นการดูแลแบบองค์รวม (Holistic Approach)

1. การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา
เพิ่มทักษะพื้นฐานด้านสังคม การสื่อสาร และทักษะทางความคิด 
เกิดผลดีในระยะยาว 
เน้นการเตรียมความพร้อมเพื่อให้เด็กสามารถใช้ในชีวิตประจำวันจริงๆแทนการฝึกแต่เพียงทักษะทางวิชาการ

2.การฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม
การฝึกฝนทักษะในชีวิตประจำวัน (Activity of Daily Living Training)
การฝึกฝนทักษะสังคม (Social Skill Training)
การสอนเรื่องราวทางสังคม (Social Story)

 3. การบำบัดทางเลือก
การสื่อความหมายทดแทน (AAC)
ศิลปกรรมบำบัด (Art Therapy)
ดนตรีบำบัด (Music Therapy)
การฝังเข็ม (Acupuncture)
การบำบัดด้วยสัตว์ (Animal Therapy)

บทบาทของครู
ตำแหน่งการนั่งของเด็กไม่ควรให้นั่งติดหน้าต่างหรือประตู 
ให้เด็กนั่งแถวหน้าสุดใกล้โต๊ะครู
จัดให้เด็กนั่งติดกับนักเรียนที่ไม่ค่อยเล่น ไม่ค่อยคุยในระหว่างเรียน
ให้เด็กมีกิจกรรม เปลี่ยนอิริยาบถบ้าง 

การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
1. ทักษะทางสังคม
2. ทักษะภาษา
3. ทักษะการช่วยเหลือตนเอง
4. ทักษะพื้นฐานทางการเรียน

ประเมินตนเอง
ตั้งใจเรียนดี

ประเมินอาจารย์
อาจารย์สอนสนุกและมีความตั้งใจสอนเป็นอย่างมากค่ะ

ประเมินเพื่อน
เพื่อนตั้งใจเรียนทุกคนค่ะ



ครั้งที่11 วันที่ศุกร์ที่17 มีนาคม พ.ศ.2560 เวลาเรียน 08:30-12:30 น.

เนื้อหา
สอบเก็บคะแนนกลางภาคค่ะแล้วเรียนต่อเรื่อง
*การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย*
รูปแบบการจัดการศึกษา
การศึกษาปกติทั่วไป (Regular Education)
การศึกษาพิเศษ (Special Education)
การศึกษาแบบเรียนร่วม  (Integrated Education หรือ Mainstreaming)
การศึกษาแบบเรียนรวม  (Inclusive Education)

การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
เด็กที่มีความต้องการพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการพิเศษของเขา

1.การเรียนร่วมบางเวลา
การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติในบางเวลา
เด็กพิเศษได้มีโอกาสแสดงออก และมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กปกติ 
เป็นเด็กพิเศษที่มีความพิการระดับปานกลางถึงระดับมาก จึงไม่อาจเรียนร่วมเต็มเวลาได้ 
2.การเรียนร่วมเต็มเวลา
การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติตลอดเวลาที่เด็กอยู่ในโรงเรียน 
เด็กพิเศษได้รับการจัดกระบวนการเรียนรู้และบริการนอกห้องเรียนเหมือนเด็กปกติ
ความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม 
การศึกษาสำหรับทุกคน
รับเด็กเข้ามาเรียนรวมกันตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษา 
จัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล

ความสำคัญของการศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
ปฐมวัยเป็นช่วงเวลาสำคัญที่สุดของการเรียนรู้ “สอนได้”
เป็นการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษที่มีขีดจำกัดน้อยที่สุด

บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม
ครูไม่ควรวินิจฉัย
ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็ก
ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ
สังเกตอย่างมีระบบ
การนับอย่างง่ายๆ
การบันทึกต่อเนื่อง

หลังจากนั้นอาจารย์ให้วาดรูปดอกบัวแล้วอาจารย์ก้เฉลยว่า การสังเกตพฤติกรรมนั้นต้องละเอียด เพื่อเป็นผลดีต่อตัวเด็ก

ประยุกต์
ใช้ในการสอนในอนาคต

ประเมินอาจารย์
อาจารย์มีความเป็นกันเองและยิ้มแย้มเสมอค่ะ

ประเมินตนเอง
ตั้งใจเรียนและมีความสุขในขณะที่เรียนค่ะ

ประเมินเพื่อน
เพื่อนมีความตั้งใจเรียนดีค่ะ

ครั้งที่10 วันที่ศุกร์ที่10 มีนาคม พ.ศ.2560 เวลาเรียน 08:30-12:30 น.

เนื้อหา

8.เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ 

ลักษณะของเด็กบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
-ความวิตกกังวล (Anxiety) ซึ่งทำให้เด็กมีนิสัยขี้กลัว 
-ภาวะซึมเศร้า (Depression) มีความเศร้าในระดับที่สูงเกินไป 

-ปัญหาทางสุขภาพ และขาดแรงกระตุ้นหรือความหวังในชีวิต 

การจำแนกเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ ตามกลุ่มอาการ
ด้านความประพฤติ (Conduct Disorders)
-ทำร้ายผู้อื่น ทำลายสิ่งของ ลักทรัพย์
-ฉุนเฉียวง่าย หุนหันพลันแล่น และเกรี้ยวกราด
-กลับกลอก เชื่อถือไม่ได้ ชอบโกหก ชอบโทษผู้อื่น
-เอะอะและหยาบคาย



ด้านความตั้งใจและสมาธิ 
-จดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งในระยะสั้น (Short attention span) อาจไม่เกิน 20 วินาที 
-ถูกสิ่งต่างๆ รอบตัวดึงความสนใจได้ตลอดเวลา

สมาธิสั้น (Attention Deficit)
-มีลักษณะกระวนกระวาย ไม่สามารถนั่งนิ่งๆ ได้ หยุกหยิกไปมา
-พูดคุยตลอดเวลา มักรบกวนหรือเรียกร้องความสนใจจากผู้อื่น

การถอนตัวหรือล้มเลิก (Withdrawal)
-หลีกเลี่ยงการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น และมักรู้สึกว่าตนเองด้อยกว่าผู้อื่น
-เฉื่อยชา และมีลักษณะคล้ายเหนื่อยตลอดเวลา

ความผิดปกติในการทำงานของร่างกาย(Function Disorder)
-ความผิดปกติเกี่ยวกับพฤติกรรมการกิน (Eating Disorder) 
-การอาเจียนโดยสมัครใจ (Voluntary Regurgitation) 
-การปฏิเสธที่จะรับประทาน 

ภาวะความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ระดับรุนแรง
-ขาดเหตุผลในการคิด
-อาการหลงผิด (Delusion)
-อาการประสาทหลอน (Hallucination)
-พฤติกรรมการทำร้ายตัวเอง

เด็กสมาธิสั้น

Inattentiveness (สมาธิสั้น)
Hyperactivity (ซนอยู่ไม่นิ่ง)
Impulsiveness (หุนหันพลันแล่น)

สาเหตุ
-ความผิดปกติของสารเคมีบางชนิดในสมอง 
-เช่น โดปามีน (dopamine) นอร์อิพิเนฟริน (norepinephrine) 
-ความผิดปกติในการทำงานของวงจรที่ควบคุมสมาธิ และการตื่นตัว อยู่ที่สมองส่วนหน้า (frontal cortex)
-พันธุกรรม
-สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ

ลักษณะของเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
-อุจจาระ ปัสสาวะรดเสื้อผ้า หรือที่นอน 
-ยังติดขวดนม หรือตุ๊กตา และของใช้ในวัยทารก 
-ดูดนิ้ว กัดเล็บ
-หงอยเหงาเศร้าซึม การหนีสังคม 

9. เด็กพิการซ้อน 
-เด็กที่มีความบกพร่องที่มากกว่าหนึ่งอย่าง เป็นเหตุให้เกิดปัญหาขัดข้องในการเรียนรู้อย่างมาก
-เด็กปัญญาอ่อนที่สูญเสียการได้ยิน 
-เด็กปัญญาอ่อนที่ตาบอด 
-เด็กที่ทั้งหูหนวกและตาบอด

ประยุกต์
ใช้ในการควบคุมชั้นเรียน

ประเมินอาจารย์
อาจารย์คอยยกตัวอย่างจึงทำให้รู้และเข้าใจมาขึ้น

ประเมินตนเอง
ตั้งใจเรียนดีค่ะ และตั้งใจดูเพื่อนที่เป้นตัวอย่างดีค่ะ

ประเมินเพื่อน
เพื่อนที่เป็นตัวอย่างตั้งใจดีค่ะทำให้บรรยากาศในห้องเป็นไปอย่างสนุกสนาน

ครั้งที่9 วันที่ศุกร์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ.2560 เวลาเรียน 08:30-12:30 น.

เนื้อหา

6. เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ 
เรียกย่อ ๆ ว่า L.D. (Learning Disability) 
เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้เฉพาะอย่าง 

ไม่นับรวมเด็กที่มีปัญหาเพียงเล็กน้อยทางการเรียน เด็กที่มีปัญหาเนื่องจากความพิการ หรือความบกพร่องทางร่างกาย

 สาเหตุของ LD
-ความผิดปกติของการทำงานของสมองที่ไม่สามารถถอดรหัสตัวอักษรออกมาได้
-กรรมพันธุ์

1. ด้านการอ่าน
ลักษณะของเด็ก LD ด้านการอ่าน
-อ่านช้า อ่านคำต่อคำ ต้องสะกดคำจึงจะอ่านได้
-อ่านออกเสียงไม่ชัดเจน
-เดาคำเวลาอ่าน

2. ด้านการเขียน 
ลักษณะของเด็ก LD ด้านการเขียน
-ลากเส้นวนๆ ไม่รู้ว่าจะม้วนหัวเข้าในหรือออกนอก ขีดวนๆ ซ้ำๆ
-เรียงลำดับอักษรผิด เช่น สถิติ เป็น สติถิ
-เขียนพยัญชนะหรือตัวเลขสลับกัน เช่น ม-น, ภ-ถ, ด-ค, พ-ผ, b-d, p-q, 6-9

3. ด้านการคิดคำนวณ 
-ลักษณะของเด็ก LD ด้านการคำนวณ
-ไม่เข้าใจค่าของตัวเลขเช่นหลักหน่วยสิบร้อยพันหมื่นเป็นเท่าใด
-นับเลขไปข้างหน้าหรือถอยหลังไม่ได้
-คำนวณบวกลบคูณหารโดยการนับนิ้ว

4. หลายๆ ด้านร่วมกัน

อาการที่มักเกิดร่วมกับ LD
-แยกแยะขนาดสีและรูปร่างไม่ออก
-มีปัญหาความเข้าใจเกี่ยวกับเวลา
-เขียน/อ่านตัวอักษรสลับซ้าย-ขวา


7. ออทิสติก (Autistic) 



เด็กที่ไม่สามารถมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น 
ไม่สามารถเข้าใจคำพูด ความรู้สึกและความต้องการของผู้อื่น

 ลักษณะของเด็กออทิสติก 

-อยู่ในโลกของตนเอง
-ไม่เข้าไปหาใครเพื่อให้ปลอบใจ
-ไม่เข้าไปเล่นในกลุ่มเพื่อน 
-ไม่ยอมพูด
-เคลื่อนไหวแบบซ้ำๆ

ออทิสติกเทียม
ปล่อยให้เป็นพี่เลี้ยงดูแลหรืออยู่กับผู้สูงอายุ 
ปล่อยให้ลูกอยู่กับไอแพด
ดูการ์ตูนในทีวี

Autistic Savant
กลุ่มที่คิดด้วยภาพ (visual thinker) 
จะใช้การการคิดแบบอุปนัย (bottom up thinking) 
กลุ่มที่คิดโดยไม่ใช้ภาพ (music, math and memory thinker) 
จะใช้การคิดแบบนิรนัย (top down thinkin)

ประยุกต์
ใช้ในการสังเกตเด้กที่เป้นออทิสติกเพื่อนใช้ปรับปรุงวิธีการสอนให้เหมาะสม
ประเมินอาจารย์
อาจารย์ยกตัวอย่างทำให้เข้าใจง่ายขึ้นค่ะ
ประเมินเพื่อน
ให้ความร่วมมือและมีสนุกสนานในการเรียนดีค่ะ
ประเมินตนเอง
ตั้งใจเรียนดี และให้ให้ความร่วมมือพอใช้ค่ะ




ครั้งที่ 8 วันศุกร์ ที่ 24 กุมภาพันธ์ 2560 เวลาเรียน 08.30-12.30 น.

สอบกลางภาคค่ะ

ครั้งที่7 วันที่ศุกร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2560 เวลาเรียน 08:30-12:30 น.

ไปศึกษาดูงาน  เรื่อการศึกษาแบบเรียนรวม ณ โรงเรียนเกษมพิทยา
ช่วงเช้าดูน้องๆทำกิจกรรมหน้าเสาธงและ มีตัวแทนเพื่อนๆออกไปนำเต้นค่ะ

แล้วหลังจากนั้นก็เข้าห้องประชุมเพื่อฟังประวัติและความเป็นมาของโรงเรียนค่ะ
ในภาพอาจจะมี 1 คน, กำลังนั่ง และ สถานที่ในร่ม



หนูได้สังเกตน้องจากห้องครูต้อลค่ะ
น้องที่สังเกตมี2คน

คนแรกชื่อน้องภูริส
อาการเมื่อนั่งไปสักพักก้จะเอนลงไปนอนค่ะ คุณครูป้าหนู 
บอกว่าน้องเป็นโรคขี้เกียจค่ะ(ครูป้าหนูได้บอกศัพท์เฉพาะมาให้แต่หนูจำไม่ได้ค่ะ)

คนที่เป็นเด็กที่มาทดลองเรียนค่ะชื่อว่าน้องเพรส
ดูภายนอกแล้วเหมือนน้องจะเป็นออทิสติก แต่จากการสังเกตของหนูแล้ว น้องมีความตั้งใจในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ น้องน้องหน้าเวลาเราเรียกค่ะ จึงไม่ทราบแน่ชีดค่ะว่าน้องเป็นเด็กพิเศษด้านใด

หลังจากที่สังเกตน้องเสร็จเราก็เข้าห้องประชุมต่อเพื่อมาเล่าประสบการณืที่ตนได้รับ แล้วก้ถ่ายรูปร่วมกันค่ะ


ในภาพอาจจะมี 31 คน, คนที่ยิ้ม, สถานที่ในร่ม

สุดท้ายก็กลับบ้านค่ะ

 เครดิตรูปภาพ อาจารย์เบียร์ค่ะ

ประยุกต์
ใช้ในการสอนในอนาคต
ประเมินตนเอง
ตั้งใจฟังและตั้งใจสังเกตน้องค่ะ
ประเมินเพื่อน
เพื่อนทุกคนตั้งใจสังเกตน้องและตั้งใจฟังบรรยายกันทุกคนค่ะ

ครั้งที่6 วันที่ศุกร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2560 เวลาเรียน 08:30-12:30 น.

ไปประกวดมารยาทไทยค่ะ

ครั้งที่5 วันที่ศุกร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2560 เวลาเรียน 08:30-12:30 น.

ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากอาจารย์ไปราชการ

ครั้งที่4 วันที่ศุกร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ.2560 เวลาเรียน 08:30-12:30 น.

เนื้อหา

4. เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา 

เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูด
1. ความบกพร่องในด้านการปรุงเสียง 
2. ความบกพร่องของจังหวะและขั้นตอนของเสียงพูด
3. ความบกพร่องของเสียงพูด 

ความบกพร่องทางภาษา 
1. การพัฒนาการทางภาษาช้ากว่าวัย 
2. ความผิดปกติทางการพูดและภาษาอันเนื่องมาจากพยาธิสภาพที่สมอง โดยทั่วไปเรียกว่า Dysphasia หรือ aphasia 
อ่านไม่ออก (alexia) 
เขียนไม่ได้ (agraphia ) 
สะกดคำไม่ได้
ใช้ภาษาสับสนยุ่งเหยิง
จำคำหรือประโยคไม่ได้
ไม่เข้าใจคำสั่ง

พูดตามหรือบอกชื่อสิ่งของไม่ได้

Gerstmann’s syndrome 
ไม่รู้ชื่อนิ้ว (finger agnosia)
ไม่รู้ซ้ายขวา (allochiria)
คำนวณไม่ได้ (acalculia)
เขียนไม่ได้ (agraphia)
อ่านไม่ออก (alexia)

ลักษณะของเด็กบกพร่องทางการพูดและภาษา 
ไม่อ้อแอ้ภายในอายุ 10 เดือน 
ไม่พูดภายในอายุ 2 ขวบ 
หลัง 3 ขวบแล้วภาษาพูดของเด็กก็ยังฟังเข้าใจยาก 
ออกเสียงตัวสะกดไม่ได้ 

5. เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ 

โรคลมชัก (Epilepsy)

1.การชักในช่วงเวลาสั้น ๆ (Petit Mal)
2.การชักแบบรุนแรง (Grand Mal)
3.อาการชักแบบ Partial Complex
4.อาการไม่รู้สึกตัว (Focal Partial)
5.ลมบ้าหมู (Grand Mal)

การปฐมพยาบาลขั้นพื้นฐาน ในกรณีเด็กมีอาการชัก

จับเด็กนอนตะแคงขวาบนพื้นราบที่ไม่มีของแข็ง
ไม่จับยึดตัวเด็กขณะชัก
หาหมอนหรือสิ่งนุ่มๆรองศีรษะ
จัดเสื้อผ้าเด็กให้หลวม
ห้ามนำวัตถุใดๆใส่ในปาก

ซี.พี. (Cerebral Palsy)




1.กลุ่มแข็งเกร็ง (spastic)
spastic hemiplegia อัมพาตครึ่งซีก
spastic diplegia อัมพาตครึ่งท่อนบน
spastic paraplegiaอัมพาตครึ่งท่อนบน
spastic quadriplegia อัมพาตทั้งตัว
2.กลุ่มที่มีการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นเอง
athetoid อาการขยุกขยิกช้า ๆ หรือเคลื่อนไหวเร็วๆที่เท้า แขน มือ หรือที่ใบหน้าของ
เด็กบางรายอาจมีคอเอียง ปากเบี้ยวร่วมด้วย
ataxia มีความผิดปกติในการทรงตัวของร่างกาย กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน
3. กลุ่มอาการแบบผสม (Mixed) 
กล้ามเนื้ออ่อนแรง (Muscular Distrophy) 


โรคทางระบบกระดูกกล้ามเนื้อ (Orthopedic




โปลิโอ (Poliomyelitis)



โรคศีรษะโต (Hydrocephalus)




โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid arthritis)


โรคระบบทางเดินหายใจ
โรคเบาหวาน (Diabetes mellitus)
โรคหัวใจ (Cardiac Conditions) 
โรคมะเร็ง (Cancer) 
เลือดไหลไม่หยุด (Hemophilia)

แขนขาด้วนแต่กำเนิด (Limb Deficiency) 


ประยุกต์
ใช้ในการสังเกตเด็กแต่ละคนในชั้นเรียน
ประเมินอาจารย์
อาจารย์สอนได้สนุกและคอยยกตัวอย่างเสมอ ทำให้เข้าใจง่าย
ประเมินตนเอง
ตั้งใจเรียนดีค่ะแต่อาจมีคุยกับเพื่อนบ้าง
ประเมินเพื่อน 
ตั้งใจเรียนกันทุกคน





ครั้งที่3 วันที่ศุกร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ.2560 เวลาเรียน 08:30-12:30 น.

เนื้อหา
ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
1. กลุ่มเด็กที่มีลักษณะทางความสามารถสูง 
เด็กปัญญาเลิศGifted Child
-เด็กที่มีความสามารถทางสติปัญญา
-มีความถนัดเฉพาะทางสูงกว่าเด็กในวัยเดียวกัน
 ลักษณะของเด็กปัญญาเลิศ
-เรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย
-อยากรู้อยากเห็นอย่างจริงจัง ชอบซักถาม
-มีเหตุผลในการแก้ปัญหา  การใช้สามัญสำนึก
-จดจำได้รวดเร็วและแม่นยำ
-มีความรู้ ใช้คำศัพท์เกินวัย
-มีความคิดริเริ่ม มีวิธีการคิดและแนวคิดแปลกๆ
-ชอบแสวงหาสิ่งท้าทายความคิดความอ่าน
2.  กลุ่มเด็กที่มีลักษณะทางความบกพร่อง
มี 9 ประเภท ดังนี้
เด็กที่บกพร่องทางสติปัญญา 
เด็กที่บกพร่องทางการได้ยิน 
เด็กที่บกพร่องทางการเห็น 
เด็กที่บกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ 
เด็กที่บกพร่องทางการพูดและภาษา
เด็กที่บกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ 
เด็กที่บกพร่องทางการเรียนรู้ 
เด็กออทิสติก 
เด็กพิการซ้อน 
1. เด็กที่บกพร่องทางสติปัญญา
มี 2 กลุ่ม คือ เด็กเรียนช้า และเด็กปัญญาอ่อน
เด็กเรียนช้า
- มีความบกพร่องทางสติปัญญาเพียงเล็กน้อย 
- มีระดับสติปัญญา (IQ) ประมาณ 71-90 
เด็กปัญญาอ่อน
1. เด็กปัญญาอ่อนขนาดหนักมาก IQ ต่ำกว่า 20
2. เด็กปัญญาอ่อนขนาดหนัก IQ 20-34 
3. เด็กปัญญาอ่อนขนาดปานกลาง IQ 35-49

4. เด็กปัญญาอ่อนขนาดน้อย IQ 50-70 

ลักษณะของเด็กที่บกพร่องทางสติปัญญา
ไม่พูด หรือพูดได้ไม่สมวัย
ช่วงความสนใจสั้น วอกแวก
ความคิด และอารมณ์ เปลี่ยนแปลงง่าย รอคอยไม่ได้

ดาวน์ซินโดรม Down Syndrome





สาเหตุ
โครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมา 1 แท่ง 

อาการ
ศีรษะเล็กและแบน  คอสั้น 
หน้าแบน ดั้งจมูกแบน 
ตาเฉียงขึ้น ปากเล็ก 
ใบหูเล็กและอยู่ต่ำ รูหูส่วนนอกจะตีบกว่าปกติ
เพดานปากโค้งนูน ขากรรไกรบนไม่เจริญเติบโต 
ช่องปากแคบ ลิ้นยื่น ฟันขึ้นช้าและไม่เป็นระเบียบ 
มือแบนกว้าง นิ้วมือสั้น 
เส้นลายมือตัดขวาง นิ้วก้อยโค้งงอ 

การตรวจวินิจฉัยก่อนคลอดกลุ่มอาการดาวน์
การเจาะเลือดของมารดาในระหว่างที่ตั้งครรภ์ 
อัลตราซาวด์  
การตัดชิ้นเนื้อรก
การเจาะน้ำคร่ำ  

2. เด็กที่บกพร่องทางการได้ยิน

มี 2 ประเภท คือ เด็กหูตึง และ เด็กหูหนวก 

เด็กหูตึง
หมายถึง เด็กที่สูญเสียการได้ยิน แต่สามารถรับข้อมูลได้ โดยใช้เครื่องช่วยฟัง จำแนกกลุ่มย่อยได้ 4กลุ่ม

1. เด็กหูตึงระดับน้อย ได้ยินตั้งแต่ 26-40 dB 

2. เด็กหูตึงระดับปานกลาง ได้ยินตั้งแต่ 41-55 dB

3. เด็กหูตึงระดับมาก ได้ยินตั้งแต่ 56-70 dB 

4. เด็กหูตึงระดับรุนแรง ได้ยินตั้งแต่ 71-90 dB 

เด็กหูหนวก 
 - เด็กที่สูญเสียการได้ยินมากถึงขนาดที่ทำให้หมดโอกาสที่จะเข้าใจภาษาพูดจากการได้ยิน
- เครื่องช่วยฟังไม่สามารถช่วยได้ 
- ไม่สามารถเข้าใจหรือใช้ภาษาพูดได้ 
- ระดับการได้ยินตั้งแต่ 91 dB ขึ้นไป




ลักษณะของเด็กที่บกพร่องทางการได้ยิน
ไม่ตอบสนองเสียงพูด เสียงดนตรี มักตะแคงหูฟัง
พูดไม่ถูกหลักไวยากรณ์
เวลาฟังมักจะมองปากของผู้พูด หรือจ้องหน้าผู้พูด

3. เด็กที่บกพร่องทางการเห็น
จำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ เด็กตาบอด และ เด็กตาบอดไม่สนิท 

เด็กตาบอด 
-เด็กที่ไม่สามารถมองเห็นได้เลย หรือมองเห็นบ้าง
- ต้องใช้ประสาทสัมผัสอื่นในการเรียนรู้ 

เด็กตาบอดไม่สนิท 
- เด็กที่มีความบกพร่องทางสายตา 
- สามารถมองเห็นบ้างแต่ไม่เท่ากับเด็กปกติ 

ลักษณะของเด็กบกพร่องทางการเห็น

เดินงุ่มง่าม ชนและสะดุดวัตถุ
มองเห็นสีผิดไปจากปกติ
มักบ่นว่าปวดศีรษะ คลื่นไส้ ตาลาย คันตา
ก้มศีรษะชิดกับงาน หรือของเล่นที่วางอยู่ตรงหน้า
เพ่งตา หรี่ตา หรือปิดตาข้างหนึ่ง เมื่อใช้สายตา
ตาและมือไม่สัมพันธ์กัน

การประยุกต์
เพื่อจัดกิจกรรมได้อย่างเหมาะสมกับเด็ก
ประเมินอาจารย์
อ.ตั้งใจสอนเป็นอย่างมากค่ะประเมินตนเอง
ตั้งใจเรียนและตั้งใจนทำกิจกรรมพอใช้
ประเมินเพื่อน
เพื่อนตั้งใจเรียนกันดีค่ะ

ครั้งที่2 วันที่ศุกร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ.2560 เวลาเรียน 08:30-12:30 น.

เนื้อหา

อ.อธิบายการเรียนการสอนในเทอมนี้และแจกใบปั๊ม

เด็กที่ต้องการพิเศษ หมายถึง

1.ทางการแพทย์
 เด็กพิการ > เด็กที่มีความผิดปกติ มีความบกพร่อง สูญเสีย สมรรถภาพ อาจเป็นความผิดปกติ ความบกพร่องทางกาย การสูญเสียสมรรถภาพทางสติปัญญา ทางจิตใจ 
2.ทางการศึกษา 
หมายถึง  เด็กที่มีความต้องการทางการศึกษาเฉพาะของตัวเอง ซึ่งจเป็นต้องจัดการศึกษาให้ต่างไปจากเด็กปกติทางด้านเนื้อหา หลักสูตร กระบวนการที่ใช้ และการประเมินผล 
เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ 
-เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้ากว่าเด็กปกติในวัยเดียวกัน
-พัฒนาการล่าช้าอาจพบเพียงด้านใดด้านหนึ่ง หลายด้าน หรือทุกด้าน
-พัฒนาการล่าช้าในด้านหนึ่งอาจส่งผลให้พัฒนาการในด้านอื่นล่าช้าด้วยก็ได้
สาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางพัฒนาการ
1. พันธุกรรม
เด็กจะมีพัฒนาการล่าช้ามาตั้งแต่เกิดหรือสังเกตได้ชั่วระยะไม่นานหลังเกิด 
มักมีลักษณะผิดปกติตั้งแต่แรกเกิดเช่น ปากแหวงเพดานโหว่ ธาลัสซีเมีย





 2. โรคของระบบประสาท
เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการส่วนใหญ่มักมีอาการทางระบบประสาทร่วมด้วย
ที่พบบ่อยคืออาการชัก
3. การติดเชื้อ 
การติดเชื้อตั้งแต่อยู่ในครรภ์ 
4. ความผิดปกติเกี่ยวกับเมตาบอลิซึม
ไทรอยด์ฮอร์โมนในเลือดต่ำ
5. ภาวะแทรกซ้อนระยะแรกเกิด
การเกิดก่อนกำหนด 
6. สารเคมี
ตะกั่ว มีอากาศซึมเศร้า เคลื่อนไหวช้า ผิวดำหมองคล้ำเป็นจุดๆ  ภาวะตับเป็นพิษ  ระดับสติปัญญาต่ำ
แอลกอฮอล์ น้ำหนักแรกเกิดน้อย พัฒนาการของสติปัญญาก็มีความบกพร่อง 
บกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
Fetal alcohol syndrome, FAS 

ช่องตาสั้น   ร่องริมฝีปากบนเรียบ  ริมฝีปากบนยาวและบาง  หนังคลุมหัวตามาก  จมูกแบน 
ปลายจมูกเชิดขึ้น
นิโคติน สติปัญญาบกพร่อง  สมาธิสั้น พฤติกรรมก้าวร้าว มีปัญหาด้านการเข้าสังคม
7. การเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม รวมทั้งการขาดสารอาหาร
8. สาเหตุอื่นๆ
อาการของเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
มีพัฒนาการล่าช้าซึ่งอาจจะพบมากกว่า 1 ด้าน
ปฏิกิริยาสะท้อน (primitive reflex) ไม่หายไป
แม้จะถึงช่วงอายุที่ควรจะหายไป 
แนวทางการวินิจฉัยเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
1. การซักประวัติ
2. การตรวจร่างกาย
3. การสืบค้นทางห้องปฏิบัติการ
4.การประเมินพัฒนาการ
กิจกรรม
อ.ให้วาดรูปตามโจทย์ดังนี้
ประเมินอาจารย์
อ.สอนได้สนุกค่ะ นำภาพของจริงมาให้ดู
ประเมินตนเอง 
ยังไม่ตั้งใจเท่าที่ควร
ประเมินเพื่อน
เพื่อนตั้งใจเรียนเป็นอย่างดี