วันอาทิตย์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

ครั้งที่10 วันที่ศุกร์ที่10 มีนาคม พ.ศ.2560 เวลาเรียน 08:30-12:30 น.

เนื้อหา

8.เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ 

ลักษณะของเด็กบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
-ความวิตกกังวล (Anxiety) ซึ่งทำให้เด็กมีนิสัยขี้กลัว 
-ภาวะซึมเศร้า (Depression) มีความเศร้าในระดับที่สูงเกินไป 

-ปัญหาทางสุขภาพ และขาดแรงกระตุ้นหรือความหวังในชีวิต 

การจำแนกเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ ตามกลุ่มอาการ
ด้านความประพฤติ (Conduct Disorders)
-ทำร้ายผู้อื่น ทำลายสิ่งของ ลักทรัพย์
-ฉุนเฉียวง่าย หุนหันพลันแล่น และเกรี้ยวกราด
-กลับกลอก เชื่อถือไม่ได้ ชอบโกหก ชอบโทษผู้อื่น
-เอะอะและหยาบคาย



ด้านความตั้งใจและสมาธิ 
-จดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งในระยะสั้น (Short attention span) อาจไม่เกิน 20 วินาที 
-ถูกสิ่งต่างๆ รอบตัวดึงความสนใจได้ตลอดเวลา

สมาธิสั้น (Attention Deficit)
-มีลักษณะกระวนกระวาย ไม่สามารถนั่งนิ่งๆ ได้ หยุกหยิกไปมา
-พูดคุยตลอดเวลา มักรบกวนหรือเรียกร้องความสนใจจากผู้อื่น

การถอนตัวหรือล้มเลิก (Withdrawal)
-หลีกเลี่ยงการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น และมักรู้สึกว่าตนเองด้อยกว่าผู้อื่น
-เฉื่อยชา และมีลักษณะคล้ายเหนื่อยตลอดเวลา

ความผิดปกติในการทำงานของร่างกาย(Function Disorder)
-ความผิดปกติเกี่ยวกับพฤติกรรมการกิน (Eating Disorder) 
-การอาเจียนโดยสมัครใจ (Voluntary Regurgitation) 
-การปฏิเสธที่จะรับประทาน 

ภาวะความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ระดับรุนแรง
-ขาดเหตุผลในการคิด
-อาการหลงผิด (Delusion)
-อาการประสาทหลอน (Hallucination)
-พฤติกรรมการทำร้ายตัวเอง

เด็กสมาธิสั้น

Inattentiveness (สมาธิสั้น)
Hyperactivity (ซนอยู่ไม่นิ่ง)
Impulsiveness (หุนหันพลันแล่น)

สาเหตุ
-ความผิดปกติของสารเคมีบางชนิดในสมอง 
-เช่น โดปามีน (dopamine) นอร์อิพิเนฟริน (norepinephrine) 
-ความผิดปกติในการทำงานของวงจรที่ควบคุมสมาธิ และการตื่นตัว อยู่ที่สมองส่วนหน้า (frontal cortex)
-พันธุกรรม
-สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ

ลักษณะของเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
-อุจจาระ ปัสสาวะรดเสื้อผ้า หรือที่นอน 
-ยังติดขวดนม หรือตุ๊กตา และของใช้ในวัยทารก 
-ดูดนิ้ว กัดเล็บ
-หงอยเหงาเศร้าซึม การหนีสังคม 

9. เด็กพิการซ้อน 
-เด็กที่มีความบกพร่องที่มากกว่าหนึ่งอย่าง เป็นเหตุให้เกิดปัญหาขัดข้องในการเรียนรู้อย่างมาก
-เด็กปัญญาอ่อนที่สูญเสียการได้ยิน 
-เด็กปัญญาอ่อนที่ตาบอด 
-เด็กที่ทั้งหูหนวกและตาบอด

ประยุกต์
ใช้ในการควบคุมชั้นเรียน

ประเมินอาจารย์
อาจารย์คอยยกตัวอย่างจึงทำให้รู้และเข้าใจมาขึ้น

ประเมินตนเอง
ตั้งใจเรียนดีค่ะ และตั้งใจดูเพื่อนที่เป้นตัวอย่างดีค่ะ

ประเมินเพื่อน
เพื่อนที่เป็นตัวอย่างตั้งใจดีค่ะทำให้บรรยากาศในห้องเป็นไปอย่างสนุกสนาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น